วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558

WEEK 2 : เรื่องทีสนใจ (Sound Engineer)

Sound Engineer


                หากใดยินคำว่า “Sound Engineer” หลายคนคงคิดว่าเป็นอาชีพที่สบาย อยู่แต่ในห้องอัด แถมยังเป็นอาชีพที่ใด้เงินเยอะ อีกต่างหาก แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า อาชีพนี้คืออาชีพอะไร? ทำอะไรบ้าง?  วันนี้ ผมเลยจะนำเรื่องของ Sound Engineer มาเสนอให้ทุกท่านใด้ทราบ กันครับ

http://mccortmirror.org/wp-content/uploads/2015/05/audio-enginer-pic.jpg

วิศวกรเสียง (อังกฤษsound engineering หรือ audio engineering) คือ ผู้ที่มีความชำนาญและมีความรู้ในการจัดการด้านเสียงในกระบวนการและการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการอัดเสียง การบันทึกเสียงลงในสื่อต่างๆทั้งอนาล็อก (Analog) และดิจิตอล (Digital)
งานด้านวิศวกรรมเสียงมีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การควบคุมในกระบวนการบันทึกเสียง (sound recording), การเพิ่มคุณภาพเสียง (sound reinforcement)และการกระจายเสียงและการควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ (sound broadcasting equipment) ในการทำงานในห้องสตูดิโอนั้นวิศวกรเสียงมีหน้าที่ในการตัดต่อ ปรับแต่งเสียงโดยวิธีและเทคนิคต่างๆเพื่อที่จะสามารถสื่อถึงความหมายหรือความต้องการที่ศิลปินต้องการสื่อออกมาให้ได้มากที่สุด
เมื่อพูดถึงวิศวกรรมทางด้านเสียง ส่วนมากผู้คนจะนึกถึงงานด้านอุตสาหกรรมดนตรี (music production) ซึ่งจริงๆแล้วยังมีสายงานที่กว้างกว่านั้นตั้งแต่การทำงานเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ (film post production), การควบคุมเสียงในงานแสดงสด (live sound reinforcement), งานด้านการโฆษณาและมัลติมีเดีย(advertising & multimedia) และการออกอากาศ (broadcasting) โดยในการทำงานนั้นวิศวกรเสียงจะทำงานร่วมกับโปรดิวเซอร์หรือผู้กำกับ และในบางกรณีบทบาทของวิศวกรเสียงก็จะผสมรวมไปเป็นหนึ่งในบทบาทของโปรดิวเซอร์ด้วย

http://www.toptenepic.com/wp-content/uploads/film-mixes.jpg
ทักษะความชำนาญ
ความชำนาญในสายวิชาชีพนี้ในด้านกระบวนการบันทึกเสียงแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนซึ่งต้องมีความชำนาญหลักๆ ได้แก่ Recording หรือ Tracking (คือขบวนการในการบันทึกเสียง) เช่นการวางไมค์ การเลือกใช้ไมค์ การเข้าใจระดับสัญญาณ และการใช้อุปกรณ์ต่างๆในการบันทึกเสียงอีกมากมายฯลฯ, editing (คือขบวนการในการแก้ไข ตกแต่ง) เช่นการลดเสียง Noise การจูนเสียงร้อง ฯลฯ, mixing หรือ Mixdown (คือขบวนการผสมเสียง) ซึ่งต้องมีความเข้าในในเพลงแต่ละประเภทหรือชนิดเพลง ทั้งยังสามารถใช้งานเครื่องมือต่างๆในห้องบันทึกเสียงเพื่อให้เกิดเสียงเพลงที่สมบูรณ์ และ mastering (คือขบวนการจัดทำต้นฉบับ) ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่นี้ต้องมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ และประสบการณ์ที่มากพอ ซึ่งต้องเข้าใจเพลง เข้าใจเรื่องของระดับสัญญาณ รวมถึงในการทำ Mastering ถือเป็นการทำ Final tune ดังนั้น หลังจากสิ้นสุดขั้นตอนนี้แล้วจะไม่มีการนำไปแก้ไขอีกครั้งเป็นต้น โดยในกระบวนการผลิตผลงานชิ้นหนึ่งๆขั้นตอนต่างๆจะถูกมอบหมายให้วิศวกรเสียงที่มีความถนัดเฉพาะด้านนั้นๆ
https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/originals/32/48/c6/3248c65cb731ec3ac5272606d987e55a.jpg
ดังนั้น ทุกคนคงรู้แล้ว ว่าอาชีพนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง และ ต้องมีชำนาญทักษะอะไรบ้าง และถ้าใครสนใจ ด้านนี้ก็นำความรู้มาแบ่งปันกันใด้นะครับ

สุดท้ายขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87 สำหรับข้อมูลนะครับ

ป.ล. ของแถมครับ ฮาๆๆ 5555

https://youtu.be/G2Rhh_4GZmU

ขอบคุณครับ :) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น